วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

ประวัติการปกครองท้องถิ่นของไทย


ประวัติการปกครองท้องถิ่นของไทย
1) ก่อนจะกล่าวถึงประวัติการปกครองท้องถิ่นของไทย ขอกล่าวถึงหลักในการจัดระเบียบบริหารราชการ แผ่นดินซึ่งนิยมใช้อยู่ในประเทศต่างๆ มี 3 หลัก คือ
หลักการรวมอำนาจปกครอง ( Centralization )
หลักการแบ่งอำนาจปกครอง ( Deconcentration )
หลักการกระจายอำนาจปกครอง ( Decentralization )
การใช้อำนาจปกครองทั้ง 3 รูปแบบมีจุดอ่อนและจุดแข็งที่แตกต่างกันออกไป การจะใช้หลักการปกครอง ชนิดใด ขึ้นกับสถานการณ์แต่ละประเทศ ขีดขั้นความรู้ความสามารถ และความพร้อมของประชาชน การรวมอำนาจ แบ่งอำนาจ และการกระจายอำนาจปกครอง มีลักษณะสำคัญ จุดแข็ง และจุดอ่อน ที่แตกต่างกันดังนี้
การรวมอำนาจปกครอง( Centralization )
ลักษณะสำคัญ มีการรวมกำลังทหารและตำรวจไว้ที่ส่วนกลาง รวมอำนาจการวินิจฉัยไว้ส่วนกลาง มีลำดับขั้นการบังคับบัญชา เจ้าหน้าที่ลดหลั่นกันลงไป จุดแข็ง ทำให้อำนาจรัฐมั่นคง อำนวยการบริการและเกิดประโยชน์โดยเสมอหน้า ก่อให้เกิดการประหยัดกว่าการกระจายอำนาจการปกครอง รักษาเอกภาพในการปกครองและการบริหารงาน มีเจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถดีกว่าเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น จุดอ่อน ไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทุกอย่างให้เกิดผลดีทุกท้องที่อย่างทั่วถึง ระเบียบแบบแผนมีมากมายหลายขั้นตอน ไม่สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเนื่องจากไม่กระจายอำนาจให้ประชาชนมีอิสระ ในการปกครองตนเอง ไม่อาจตอบสนองความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริง
การแบ่งอำนาจปกครอง( Deconcentration )
ลักษณะสำคัญ ต้องมีรัฐบาล เป็นการบริหาร ราชการส่วนกลาง มีหน้าที่เป็นตัวแทนส่วนกลาง ออกไปปฏิบัติหน้าที่ ส่วนกลางแบ่ง/มอบอำนาจในการบริหารงานบางส่วนบางเรื่อง โดย มิได้ตัดอำนาจจากส่วนกลางอย่างเด็ดขาด จุดแข็ง เป็นก้าวแรกสู่การกระจายอำนาจการปกครอง ทำให้การปฏิบัติราชการตามเขตการปกครองสำเร็จลุล่วงไปโดยเร็ว มีการประสานระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นดีขึ้น มีประโยชน์สำหรับประเทศที่ประชาชนยังไม่มีความพร้อมอย่าง เต็มที่ จุดอ่อน การส่งเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางออกไปในแต่ละพื้นที่ แสดงว่ารัฐบาลยังไม่เชื่อความสมารถของท้องถิ่น ถ้าส่วนกลางแบ่งมอบอำนาจให้น้อย การบริหารจะยิ่งช้า ไม่เป็นธรรมเนื่องจากใช้ทรัพยากรการบริหาร (คน) มาจากท้องถิ่นอื่น
การกระจายอำนาจปกครอง(Decentralization )
ลักษณะสำคัญ มีการจัดตั้งองค์กรเป็นนิติบุคคลเพิ่มขึ้นจากส่วนกลาง มีการเลือกตั้งสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น มีอำนาจอิสระในการปกครองตนเองได้ตามสมควร มีงบประมาณและรายได้เป็นของท้องถิ่นเอง มีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเป็นของท้องถิ่นเอง จุดแข็ง ตอบสนองความต้องการของ ท้องถิ่นได้ดีขึ้น แบ่งภาระของส่วนกลางได้บ้าง ราษฎรมีความสนใจ รู้จักรับผิดชอบในการปกครองท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น จุดอ่อน อาจทำลายเอกภาพทางการปกครองและความมั่นคงของประเทศ ประชาชนเพ่งเล็งประโยชน์ของท้องถิ่นมากกว่าส่วนรวม อาจมีการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรมของผู้บริหารที่มาจากการเลือกตั้งกับคู่แข่งหรือพรรคตรงข้าม มีความสิ้นเปลืองมาก ต้นทุนสูง
สำหรับประเทศไทยในปัจจุบันมีการใช้หลักการปกครองทั้ง 3 แบบ ผสมผสานกัน คือ การรวมอำนาจการปกครองในราชการบริหารส่วนกลาง การแบ่งอำนาจปกครองในราชการบริหารส่วนภูมิภาค และการกระจายอำนาจการปกครองในราชการบริหารส่วนท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น